วันพุธที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ประวัติประเทศเนเธอร์แลนด์ (ฮอลแลนด์)


ประเทศเนเธอร์แลนด์



ธงชาติ                                                                                    ตราแผ่นดิน

เนเธอร์แลนด์ (ดัตช์: Nederlands; อังกฤษ: Netherlands) หรือที่มักเรียกกันว่า ฮอลแลนด์ (อังกฤษ: Holland) หรือ ฮอลันดา เป็นประเทศซึ่งตั้งอยู่ในยุโรปตะวันตกตอนเหนือ ชื่อประเทศมีรากศัพท์มาจากคำว่า “Neder” หรือ ต่ำเนื่องจากภูมิประเทศส่วนใหญ่ของเนเธอร์แลนด์เป็นที่ราบลุ่ม และพื้นที่ประมาณหนึ่งในสี่ของประเทศต่ำกว่าระดับน้ำทะเล เนเธอร์แลนด์ได้ปรับพื้นที่โดยการสูบน้ำออกจากทะเลสาบและทางน้ำต่าง ๆ เพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้ เนเธอร์แลนด์ได้สร้างเขื่อน ทางระบายน้ำ และสถานีสูบน้ำจำนวนมาก เพื่อป้องกันไม่ให้พื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศประสบภาวะอุทกภัย เนเธอร์แลนด์จึงมีสิ่งก่อสร้างด้านวิศวกรรมการจัดการน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก

คำขวัญJe Maintiendrai
Ik zal handhaven,
ภาษาอังกฤษ: I Shall Uphold)




ประวัติศาสตร์

ประวัติศาสตร์โดยสังเขป ประมาณช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 1 เนเธอร์แลนด์เป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมัน และมีสันติภาพยาวนานต่อเนื่องเป็นเวลา 250 ปี ต่อมา เมื่อจักรวรรดิโรมันเสื่อมอำนาจลง ชนเผ่าเยอรมันนิก และเคลติก ได้เข้าไปครอบครองพื้นที่แถบนั้น

ในช่วงปี พ.ศ. 1906-2025 เนเธอร์แลนด์อยู่ภายใต้การปกครองของยุคแห่งเบอร์กันดี และในศตวรรษที่ 16 เนเธอร์แลนด์ถูกปกครองโดยสเปน ต่อมาเจ้าชายวิลเลียมแห่งออเรนจ์และขุนนางจำนวนหนึ่ง ได้ก่อการปฏิวัติต่อสมเด็จพระราชาธิบดีฟิลิปที่ 2 แห่งสเปน เพื่อเรียกร้องให้ประชาชนเนเธอร์แลนด์และได้สถาปนาสาธารณรัฐดัตช์และ สามารถนับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนท์ได้ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2191 (ค.ศ. 1648) จึงได้มีการลงนามในสนธิสัญญามุนสเตอร์ เพื่อสงบศึกระหว่างเนเธอร์แลนด์และสเปน ซึ่งดำเนินมาถึง 80 ปี และถือเป็นการประกาศเอกราชของเนเธอร์แลนด์ด้วย

หลังจากได้ประกาศเอกราชจากจักรวรรดิสเปน ชาวดัตช์ได้ร่วมกันฟื้นฟูประเทศจนในที่สุดได้เข้ามาสู่ยุคทอง เช่นเดียวกับ สเปน โปรตุเกสและสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นมหาอำนาจทางทะเลในการแสวงหาโอกาสทางการค้าในดินแดนต่าง ๆ ของโลก เนเธอร์แลนด์เป็นมหาอำนาจทางทะเลและเศรษฐกิจชั้นนำของยุโรปในเวลานั้น และกรุงอัมสเตอร์ดัมก็ได้กลายมาเป็นศูนย์กลางการเงินของยุโรป จนมีนักเศรษฐศาสตร์หลายคนถือให้เนเธอแลนด์เป็นประเทศระบอบทุนนิยมประเทศแรกของโลก

เมื่อปี พ.ศ. 2338 (ค.ศ. 1795) กองทัพปฏิวัติฝรั่งเศสนำโดยพระเจ้านโปเลียนที่ 1 ได้กรีฑาทัพเข้ายึดครองเนเธอร์แลนด์ และในปี พ.ศ. 2353 (ค.ศ. 1810) เนเธอร์แลนด์ก็ได้ถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิฝรั่งเศส ต่อมาเมื่อจักรวรรดิฝรั่งเศสเสื่อมอำนาจลงเนเธอร์แลนด์จึงได้รับเอกราชคืนมาอีกครั้งในปี พ.ศ. 2357 (ค.ศ. 1814) โดยมีเบลเยียมเป็นส่วนหนึ่งของเนเธอร์แลนด์ อย่างไรก็ดี เนื่องจากความแตกต่างในทุก ๆ ด้านระหว่างเนเธอร์แลนด์และเบลเยียม ประเทศทั้งสองจึงได้แยกออกจากกันอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2382 (ค.ศ. 1839)

เนเธอร์แลนด์ประกาศความเป็นกลางในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ระหว่างปี พ.ศ. 2457-2461 และประกาศความเป็นกลางอีกครั้งหนึ่งในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างไรก็ดี กองทัพเยอรมนีได้รุกรานและยึดครองเนเธอร์แลนด์ ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2483-2488 ปัจจุบันเนเธอร์แลนด์เป็นสมาชิกที่มีบทบาทแข็งขันในสหภาพยุโรปและองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือหรือนาโต

เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศเจ้าอาณานิคมจนกระทั่งภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยอินโดนีเซียได้ประกาศเอกราชจากการเป็นอาณานิคมของเนเธอร์แลนด์เมื่อปี พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) และซูรินาเมประกาศเอกราชเมื่อปี พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954) ส่วนเนเธอร์แลนด์แอนทิลลิสและอารูบายังคงเป็นส่วนหนึ่งของเนเธอร์แลนด์ โดยมีอธิปไตยในการบริหารกิจการภายในประเทศ ส่วนด้านการทหารและการต่างประเทศยังอยู่ภายใต้ความควบคุมดูแลโดยรัฐบาลเนเธอร์แลนด์

ภูมิศาสตร์

สภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบกว้างใหญ่ พื้นที่ส่วนใหญ่เคยเป็นน้ำทะเลมาก่อนดังนั้นประเทศนี้จึงอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล มีเพียงทางตะวันออกเฉียงใต้ในเขตลิมเบิร์ก เท่านั้นสามารถพบเห็นเนินเขาได้ แม่น้ำไรน์ที่ไหลมาจากเยอรมนี เป็นแม่น้ำสายสำคัญของประเทศ เนื่องจากเป็นประเทศต่ำกว่าระดับน้ำทะเลจึงทำให้ต้องสร้างเขื่อน เพื่อไม่ให้นำทะเลไหลท่วมได้ เนื่องจากเนเธอร์แลนด์มีที่ตั้งอยู่ชายฝั่งทะเลเหนือ จึงได้รับอิทธิพลของกระแสน้ำอุ่นด้วย ทำให้ภูมิอากาศของประเทศอบอุ่นกว่าประเทศอื่นๆในยุโรป และมีฝนตกชุกในช่วงฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วง มากถึง 700 มิลลิเมตรต่อปี


เศรษฐกิจ

ภาวะเศรษฐกิจและการค้า

ชาวเนเธอร์แลนด์ เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านการค้ามาช้านาน ทั้งการค้ากับประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง และการค้ากับประเทศในภูมิภาคอื่นของโลก สาเหตุที่ทำให้เชี่ยวชาญด้านนี้มีองค์ประกอบหลายประการด้วยกัน ที่สำคัญคือ ประเทศเนเธอร์แลนด์ มีแม่น้ำสำคัญหลายสายไหลผ่านมาจากหลายประเทศในยุโรป ไปออกทะเลที่ประเทศของตน ทำให้หลายเมืองของเนเธอร์แลนด์ กลายเป็นท่าเรือ ที่สำคัญ คือ ท่าเรือรอตเทอร์ดาม (Rotterdam) ซึ่งเป็นท่าเรือที่ใหญ่และมีความสำคัญทางด้านการค้าระหว่างประเทศมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลกจึงเปิดโอกาสให้ชาวเนเธอร์แลนด์ทำการค้าได้สะดวก

ประการถัดมา จากการอยู่ใกล้ทะเล ทำให้มีโอกาสได้เห็นการค้าทางเรือผ่านไปมาเสมอ ทำให้เป็นแรงบรรดาลใจให้สนใจทำการค้า รวมทั้งการค้าขายทางเรือตามไปด้วย เพราะสามารถไปได้ไกล ๆ จนมีการค้ากับประเทศในแถบเอเชียและอเมริกามาแต่สมัยโบราณ ยิ่งไปกว่านั้น การที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ มีทรัพยากรธรรมชาติไม่มาก ชาวดัตช์ต้องอาศัยการเกษตรกรรม การประมง เลี้ยงสัตว์ ไม่มีแร่ธาตุสำคัญ (น้ำมัน และกาซธรรมชาติมาค้นพบในระยะหลังๆ) ดังนั้น จึงต้องอาศัยการค้าเป็นหลัก เพื่อความอยู่รอด จนได้รับการขนานนามว่าเป็นชาตินักการค้า (Trading nation) และประสบความสำเร็จในด้านการค้ามาตลอด ข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ความเชี่ยวชาญด้านการค้านั้น ดูได้จากการค้าระหว่างประเทศของเนเธอร์แลนด์ ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น และได้เปรียบดุลการค้ามาตลอดหลายปีติดต่อกัน

การแบ่งเขตการปกครอง

ประเทศเนเธอร์แลนด์แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 12 จังหวัด (provincie) โดยแต่ละจังหวัดจะมีเมืองหลวง ได้แก่

1.             เดรนธ์

2.             เฟลโวแลนด์

3.             ฟรีสแลนด์

4.             เกลเดอร์แลนด์

5.             โกรนิงเงิน

6.             ลิมบูร์ก

7.             นอร์ทบราบันต์

8.             นอร์ทฮอลแลนด์

9.             โอเวอร์เอเซิล



12.      เซแลนด์

ประชากร

ประเทศเนเธอร์แลนด์มีประชากร 16,105,285 คน (ปี 2544) โดยมีอัตราความหนาแน่น 395 คนต่อ ตร. กม. นับได้ว่าอยู่อันดับที่ 23 ของโลก นอกจากนั้นยังเป็นประเทศที่มีการใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดเป็นอันดับที่ 5[1] และยังเป็นประเทศที่มีอัตราความสูงของผู้อยู่อาศัยสูงที่สุดในโลก โดยผู้ชายมีความสูง 1.81 เมตร และผู้หญิงสูง 1.68 เมตรอีกด้วย [2]

ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศที่มีประชาชนหลายเชื้อชาติเข้ามาอยู่อาศัย ดังนี้



ที่
เชื้อชาติ
จำนวน (ร้อยละ)
1.
80.8
2.
2.4
3.
2.4
4.
2.2
5.
2
6.
1.9
7.
1.5
8.
ชาวแอนทิลลิส และ ชาวอารูบา
0.8
9.
อื่นๆ
6

นอกจากนั้นยังมีผู้อาศัยที่มีเชื้อผสมระหว่างอินโดนีเซียและเนเธอร์แลนด์อีกกว่า 8 แสนคน

วัฒนธรรม

ประเทศเนเธอร์แลนด์มีวันคริสต์มาส 2 ครั้ง วันที่ 5 และ 25 ธันวาคม ถือว่าเป็นวันคริสต์มาสทั้ง 2 วัน วันที่ 5 ธันวาคม เป็นวันฉลองวันนิโคลัสอีฟ โดยมีเรื่องเล่ากันว่า วันที่ 3 พฤศจิกายน เซนต์นิโคลัสหรือซานตาคลอสจะขึ้นม้าจากสเปน มุ่งหน้ามายังกรุงอัมสเตอร์ดัม

สถานที่ท่องเที่ยว

เมืองที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวในเนเธอร์แลนด์ เช่น อัมสเตอร์ดัม รอตเทอร์ดาม กรุงเฮก เดลฟ์ท

-Keukenhof สวนดอกทิวลิป

-IJsselmeer Outdoor Museum/ The Zuiderzee Museum เป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่แสดงวิถีชีวิตของชาวดัตช์ในสมัยโบราณ อาหารการกิน บ้านเรือนและสถาปัตยกรรม

-เมือง Giethorn Water City ซึ่งได้ชื่อว่าเป็น Venice of Holland เป็นเมืองที่อาศัยกับลำน้ำคูคลองมีเทศกาลพาเรดกลางน้ำในตอนกลางคืนให้ชม วิธีการชมก็คือการนั่งเรือออกไป

-Archeon Park, อยู่ที่ Alphen aan den Rijn เป็นกึ่งสวนสนุกและพิพิธภัณฑ์ที่น่าสนใจ มีการจัดบรรยากาศให้มีความโบราณ ไล่มาตั้งแต่ยุคไดโนเสาร์ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ยุคโรมัน ยุคกลาง ฯลฯ การจัดแสดงและสื่อความหมายใช้คนแสดงเป็นหลัก

-Efteling Park, ที่ Kaastsheuvel เป็นสวนสนุกที่มีบรรยากาศเป็นอุทยานหรือสวนสาธารณะที่เป็นธรรมชาติ เคยได้รับรางวัล Applause award ว่าเป็นสวนสนุกที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก หากใครเคยไปสวนสนุกแบบอเมริกัน เช่นดิสนีย์แลนด์มาแล้ว Efteling ให้รสชาติอีกแบบหนึ่งไม่แพ้กันเลยทีเดียว

-เมืองตุ๊กตา เมืองจำลอง Madurodam Miniature land เมืองจำลองขนาดเล็กที่อธิบายเกี่ยวกับสถานที่สำคัญของเนเธอร์แลนด์ได้อย่างครบถ้วน

-Polder museum หรือพิพิธภัณฑ์การเกิดแผ่นดินใหม่ และโครงการ Delta projects ที่แสดงเทคโนโลยีการกันน้ำท่วมของชาวดัตช์ตั้งแต่อดีต แสดงให้เห็นว่าชาวดัตช์ใช้ความรู้ ความอดทน และความเป็นนักสู้ต่อสู้กับธรรมชาติ และเรียนรู้ที่จะอยู่กับสภาพการณ์นั้นอย่างชาญฉลาดอย่างไร วิศวกรรมและศาสตร์ต่างๆที่เกี่ยวข้องถูกนำมาจัดแสดงในหลากหลายระดับ ให้คนเลือกดูเลือกชมและได้รับความรู้ที่แตกต่างกันไป ตามอัธยาศัย

อ้างอิง : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%98%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B9%8C

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น